พัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ TQA
รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก
ประวัติของการรับการตรวจประเมินประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
และการตรวจประเมินการประกันคุณภาพภายนอกจากสำนักมาตรฐานคุณภาพการศึกษา(สมศ)
*พ.ศ. 2543 บาทหลวงศรีปราชญ์ ผิวเกลี้ยง มาดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ และครูใหญ่ ได้มีการปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ สนามฟุตบอล และบริเวณรอบๆ โรงเรียนให้สวยงาม ในปีการศึกษา2543นี่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งคณะกรรมการจำนวน 5 คนเข้าตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเมื่อวันที่ 20-22 ธันวาคม 2543 ประกอบด้วย
1.รศ.ดร.ประกอบ ระกิติ 2.นางสุรีย์ สหวัฒน์
3.นางสรรเสริญ สุวรรณ์ 4.นายดุสิต หังเสวก
5.นางศิริกุล ทองทา
และโรงเรียนได้ผ่านการรับการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ในระดับดี ประถม/มัธยมศึกษา และดีมาก ระดับอนุบาล
- ปีพ.ศ.2546 บาทหลวงบัณฑิตย์ ประจงกิจ เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์จารุณี กิจบำรุง เป็นผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ได้ส่งเจ้าหน้าที่ 2 ท่าน มาตรวจเยี่ยมเพื่อตรวจสอบจำนวนนักเรียนปีการศึกษา 2546 เป็นเวลา 3 (7)วัน ผลการตรวจสอบจำนวนนักเรียนตรงตามบัญชีเรียกชื่อทุกประการและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สมศ.รอบแรก
*พ.ศ.2547 บาทหลวงบัณฑิตย์ ประจงกิจ เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์จารุณี กิจบำรุง รับตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ และโรงเรียนได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(สมศ.)โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดประเมินมาตรฐานการศึกษา(ปมศ.) เมื่อวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2547ประกอบด้วย
1.นางวรรณพร นาคสุวรรณ หัวหน้าคณะ 2.นางประทิน วงศาโรจน์
3.นายประสพ จันทเขต 4.นายสายยุทธ อินทร์แพง
5.นายณรงค์ แจ้งใจ
ผลการประเมิน ระดับประถม+มัธยม ได้ระดับ ดี ระดับปฐมวัยได้ระดับดีมาก
สมศ.รอบ 2
*พ.ศ. 2550 ซิสเตอร์สุชาตรี กิจประเสริฐ มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ มีบาทหลวงบัณฑิตย์ ประจงกิจ เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ และโรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา รอบ 2 จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัดนันท์นภัสการประเมิน สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) เมื่อวันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2550 ประกอบด้วย 1.นางวัชรินทร์ วิภาวสุ หัวหน้าคณะ 2.นายมณฑล คงแถวทอง
3.นางภรณี ศีลพิพัฒน์ 4.นายณกรณ์ บุญคุณาพงษ์
5.นางลักษมี ธีระชาติ
ผลการประเมินได้ระดับ “ดีมาก” ทุกมาตรฐาน
*และวันที่ 14 – 16 มีนาคม 2555 ดร.อรวรรณ จันทร์ชลอ เป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 และสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ซึ่งมีดร.ณรงค์ ลาภเกิน นางพินิจ แสงอรุณและนายเกริกฤทธิ์ พ่วงสมจิตร เป็นคณะกรรมการผู้ประเมิน ผลการประเมินระดับปฐมวัยได้คะแนน 92.5/100 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้คะแนน 90/100
สมศ.รอบ 3
*บาทหลวงวิทยา แก้วแหวน รับตำแหน่งผู้อำนวยการอีกหนึ่งตำแหน่ง (ข่าวการประเมินจากสมศรอบ 3 วุ่นวายพอสมควร โดยเริ่มจากบริษัทแมกซ์การประเมินในช่วงเดือนก.ค.แต่แล้วก็เลื่อนไปเดือนส.ค.)และวันที่ 7 – 9 สิงหาคม 2555 โรงเรียนเข้ารับการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจาก สมศ. รอบ 3 โดยบริษัท ดีนี เทคโนโลยีจำกัด ประกอบด้วย
1.ว่าที่ร้อยตรีทวีป ฤทธิเลิศ (หัวหน้า) 2.นายสุดใจ เขตตลาด
3.พ.อ.สมนึก ศิลาวงษ์ 4.นางฉวีวรรณ สุภาพุฒ
5.นางสาวภัสราวรรณ โพธารามิก (ผู้จัดการบริษัท)
ผลการประเมินระดับปฐมวัย ได้ระดับ “ดีมาก” ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ระดับ “ดี”
พ.ศ.2557 บาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ มารับตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและผู้อำนวยการ
ในปีพ.ศ.2559 โรงเรียนได้รับการประเมินประกันคุณภาพภายในจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 มีนายอุดม คำประภา นายเกริกฤทธิ์ พ่วงสมจิตร นางวัชรี ยิ้มยวล นางพนาวรรณ มงคลมล เป็นกรรมการ ผลการประเมิน อยู่ระดับร้อยละ 90 ทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
*และในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เข้ามาตรวจเรื่องเงินอุดหนุน จำนวนนักเรียน โครงการอาหารกลางวัน โครงการอาหารเสริม(นม) เงินเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจจำนวน 7 ท่าน ผู้สังเกตการณ์จากศธจ. 1 ท่านได้แก่
1.นางสาวอุดมพร ศรีจั่นแก้วนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการ 2.นางเครือวัลย์ วัฒนพลอย นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการ 3.นางสาวปัญชลี อรรถนาถนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการ 4.นางสาวจิตประนอมแก้ว สุ่มทรัพย์นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ 5.นางสาวภัสสร ขัดโน นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ 6.นางสาวกุลนิตยา คงสุวรรณ์ พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน
ชั้น 3 7.นางสาวสุรัสวดี แห้วเพ็ชร พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดินชั้น 3 และผู้ร่วมสังเกตการณ์ นางพนาวรรณ มงคลมล นักวิชาการศึกษาชำนาญการจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ช่วยผู้บริหารได้แก่ บาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ นายสมพร บุตรสละ นางสาวมัณฑนา ทิวไผ่งาม นางสาวเบญจวรรณ บัวสำลี นางสาวน้ำอ้อย รุณเจริญ น.ส.บุษราพรรณ บุตรสละ น.ส.สุภัทรา เที่ยงงามดี นางนุสรา แสงชาติ น.ส.รุจินันทน์ ภาศักดี มีข้อแก้ไขบางประการและทุกอย่างผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
- ในวันที่ 14 กันยายน 2563 ศึกษานิเทศก์จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกอบด้วย
1.นางกำไล คล้ายวงค์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
2.นายสราวุฒิ สุขบัณฑิตย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
3.นางตรัยนภา จ่าพันดุง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
ประเมินประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้ให้ข้อแนะนำหลายประการโดยเฉพาะเรื่องกฏของกระทรวงศึกษาธิการ 7 ข้อ และการจัดทำมาตรฐานการศึกษา/ค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการศึกษาผ่านการรับรองเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน รวมทั้งการประกาศ/การเผยแพร่ให้ชุมชน ผู้ปกครอง ครู นักเรียนได้รับรู้ เพื่อเตรียมการรับการประเมินจากสมศ.รอบ4และรอบ5 ต่อไป
- พ.ศ. 2564 วันที่ 8 มีนาคม 2564 บาทหลวงว่าที่ร้อยตรีเดชา อาภรณ์รัตน์ เข้ารับตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการและผู้อำนวยการ และในวันที่ 23 มีนาคม 2564 โรงเรียนรับการประเมินสมศ.รอบ 4 จากบริษัทอยุธยาการประเมิน ภายใต้สถานการณ์COVID – 19 การตรวจเยี่ยมผ่านทางระบบอิเลคทรอนิกส์(ZOOM) โดยมีนายศิลา ปุยสุวรรณ เป็นประธานกรรมการ บาทหลวงดร.ฉลองรัตน์ สังขรัตน์ กรรมการ นางวัลย์ณภัสร์ สุขะวัธนกุล กรรมการ/เลขานุการ ผลการประเมิน ระดับปฐมวัย ได้ระดับ “ดีเยี่ยม”2มาตรฐาน และระดับ “ดีมาก” 1 มาตรฐาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ระดับ “ดีมาก” ทั้ง 3 มาตรฐาน